วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

Season Change

สยามรัฐ 23 เม.ย .2552

เพิ่งจะเข้าเทศกาลปีใหม่ไทยกันได้ไม่นาน นอกเราอุณหภูมิการเมืองที่เคยร้อนรุ่มจะเย็นลงในทางที่ดีแล้ว แต่อากาศที่ร้อนสุดขีดที่บ้านเราเผชิญอยู่อาจมีส่วนเร่งใจตัวเราร้อนและโดยแผดเผาไหม้เอาได้ง่ายๆ ถ้าไม่รู้จักควบคุม เพิ่งทราบค่ะว่าบบเพลงโปรดที่หลวงพี่น้ำฝนบันทึกไว้จะเป็นเพลงโปรดของดิฉันและใครหลายๆคนด้วย

“หากเปรียบกับชีวิตของคน เมื่อยามสุขล้นจนใจมันยั้งไม่อยู่
ก็คงเปรียบได้กับฤดู คงเป็นฤดูที่แสนสดใส
แต่ถ้าวันหนึ่งวันไหน ที่ใจเจ็บจนทุกข์ ดังพายุที่โหมเข้าใส่
บอกกับตัวเองเอาไว้ ความเจ็บต้องมีวันหาย
ไม่ต่างอะไรกับที่เราต้องเจอทุกฤดู” (บอย โกสิยพงษ์)

“If life is like season..
Happy life is like spring
Blue life is like storm..
Tell yourself that nothing last very long..
Be stong in every season you will win.”
(ทิชา สุทธิธรรม)

-ทิชา สุทธิธรรม-
*******************************************

หวังได้แต่อย่าไกลเกิน

สยามรัฐ 17 เม.ย. 2552

มีคำสอนมากมายที่สอนให้คนเรารู้จักประมาณตน อย่าไป “หลุด” มีความหวัง ลมๆ แล้งๆ ที่เพ้อฝัน (Daydreaming) หรือ “อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์” ถ้าเป็นแนวเสียดสีเรื่องความรักก็เช่น “หมามองเครื่องบิน” จะอะไรก็ตามแต่ลองดูกลอนบทนี้ค่ะ

“ถึงจะสูง ก็อย่าให้ เกินไม้สอย
จะต่ำต้อย ก็พอก้ม คว้างมถึง
คนจะสูง หรือจะต่ำ ควรคำนึง
เราต้องพึ่ง พาอาศัย เห็นใจกัน”
(พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ : หลวงพี่น้ำฝน)

“We can expect more but not over – expect, and
Think of anythink which is still in our reach..
not too close and not too far
and remember to “Help” one another”.
(แปลความ : ทิชา สุทธิธรรม)


-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

“ขี้เหร่รูป” อาจ “จูบหอม”

สยามรัฐ 16ม.ย. 2552

ปกติเวลาเห็นใครจากภายนอก ถ้าหน้าตาท่าทางไม่น่าไว้ใจเราคงจะเกิดอาการ “พึงระวังตัว” กันบ้าง แต่มีหลายครั้งนะคะที่ต้องนึกตำหนิตัวเองและขอโทษคนผู้นั้นอยู่ในใจ เมื่อเรามองคนผิดไป

“เพียงรูปกายภายนอกบอกไม่ได้
ว่าเขาร้ายหรือดีมีคุณค่า
จงพินิจพฤติกรรมที่ทำมา
จะรู้ว่าเพชรนิลหรือดินตาม”
(พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ : หลวงพี่น้ำฝน)

“Only external appearance of people cannot be judged
if he is good or bad. It can only be seen by
his behavior . With that, you will find his value”.
(แปลความ : ทิชา สุทธิธรรม)


-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552

: Lady ศรี “สงกรานต์”

สยามรัฐ 15 เม.ย. 2552

กำลังจะผ่านช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองปีใหม่ไทย จะไม่พูดถึง “สงกรานต์ เฟสติวัล” ก็กระไรอยู่ ก็ทราบล่ะค่ะว่าประเทศไทย โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวคงคาดหวังกันอยู่ไม่น้อยที่จะทำให้ดีและดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาให้ได้มากๆ

แต่ทราบมั้ยค่ะ ความจริงประการหนึ่ง คือ บรรดาฝรั่งต่างชาติที่สนใจใคร่จะข้ามน้ำ ข้ามทะเลมาเที่ยวสาดน้ำในบ้านเรา ส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มฝรั่ง backpacking อารมณ์ติสท์ที่ตังค์ “ไม่หนา” สร้างหน้าตาว่าประเทศเราสวย unique น่ะพอได้ แต่เม็ดเงินอาจจะ “ใหญ่” ไม่มากเท่าบรรดานักธุรกิจ

ที่สำคัญเวลาประเมินค่าใช้จ่ายต่อคน ต่อหัวของฝรั่งที่มาเที่ยวย่าน “ถนนข้าวสาร” กลับลดลงอย่างมีนัย จาก 10,000 - 15,000 บาท เหลือเพียง 8,000 – 10,000 บาทและเงินอาจไม่ฟู่ฟ่า จากที่เคยสะพัด 400 – 500 ล้านบาท อาจเหลือเพียง 300 ล้านบาท ด้วยภาวะ “เศรษฐกิจยามยาก” ถ้าจะอยู่แบบไม่ลำบากก็คงต้องใช้วิธี “นกน้อยทำรังแต่พอตัว”

อย่างไรก็ดี เทศกาลแบบนี้มี “สุข” ที่มาพร้อมกับ “ทุกข์” เสมอ “กฎ” สร้างมาเพื่อไม่ให้ละเมิด “ความปรกติสุข” แต่คนก็ “แหวก” กฎกันทุกปี

ในฐานะ “สตรี” ที่เชื่อว่า “ก็พอจะเป็นคนทำอะไรดีดีมาบ้าง” คงพอบอกบางอย่างได้ว่า “ของดี ไม่ต้องมีไว้โชว์ก็ได้” ไม่ผิด ไม่มีใครว่า....ถ้าไม่ทำตัวให้อยู่ในความเสี่ยง เราคงไม่ตกเป็นเหยื่อของ “ขันธ์5” (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) ตัวเรา ของเรา พึงรู้ด้วยสติ..นะ พี่น้องหญิงไทย!!
-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

: ว่าด้วย “การให้”

สยามรัฐ 14 เม.ย. 2552

สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐ (First Lady) ที่พวกเรารู้จักกันดี “มิเชล โอบามา” ในฐานะหลังบ้านประธานาธิบดีที่กล้าหาญ มั่นใจและสวมบทบาทผู้นำสตรีโลกได้ดูดีแบบเต็มภาคภูมิ

เรียกว่า ตั้งแต่เป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งก็ยังไม่เคยทำอะไรที่ดู “ขวางหูขวางตา” “สื่อ” โลกสักเท่าไร จะมีก็ตอนใส่ ชุดแดง – ดำ แล้วมี “กากบาท” ตรงกลางตอนแถลงเปิดตัวครอบครัวผู้นำโลกครั้งนั้นเท่านั้นเองที่ดูเหมือนจะ “เจอเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับรสนิยม” แบบโจ๋งครึ่ม (การที่คนพูดถึง แปลว่าเรายังมีความหมายให้จดจำ)

มาวันนี้ แทนที่เธอจะปรับเปลี่ยนการแต่งกายรึก็ไม่ และนี่คือ สิ่งที่ดิฉัน “ชื่นชม” ในความมี “จุดยืน” และ “ไม่หวั่นไหว” ในสิ่งที่เธอคิดว่า “ไม่ได้ทำให้ใครเดือนร้อน”

แทนที่เธอจะไปใช้ของ Brandname สุดแพงจากดีไซน์เนอร์ชื่อก้องโลก ที่ “กรู” กันเข้ามาให้เธอเลือก “มิเชล” กลับไม่ได้รู้สึกตื่นเต้น เธอกลายเป็นผู้ให้โอกาสดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ที่เพิ่งเริ่ม “ก่อร่างสร้างชื่อ” แต่มี “ฝีมือ” ไม่แพ้รุ่นใหญ่

น่าภูมิใจแทนดีไซน์เนอร์ไทย “แบรนด์ฐากูน” ที่ดังในแดนไกล หนึ่งในผู้ถูกเลือกที่มาจาก “การให้โอกาส” และ “ได้ใจ” ต้องเริ่มจาก “การให้” ที่ยิ่งใหญ่ให้วิชาชีพ - ให้โอกาส – ให้อนาคต!!!

-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

กลอนสงกรานต์

สยามรัฐ 13 เม.ย. 2552


ทิชาฝากกลอนให้อ่านเล่นๆ ค่ะ ออกตัวก่อนว่าไม่สละสลวยเท่าไร แต่ตั้งใจ...สุดขีดเหมือนกัน!!

“เมื่อสิบสาม เมษา มาบรรจบ
ก็จะครบ รอบปี ที่หม่นหมอง
ในปีใหม่ คนไทย จะปรองดอง
ไม่แบ่งสอง สาม – สี หลายสีไป”

“ปีอดีต ที่เลยผ่าน นานเหมือนสั้น
สิ่งสร้างสรรค์ ลดถอย เริ่มร่อยหรอ
เศรษฐกิจ การเมือง ที่เฝ้ารอ
รู้จักพอ แก้ต่อ อย่างตั้งใจ”

เริ่มปีใหม่ ใครๆ ก็รู้ว่า สิ่งที่เป็นอยู่ “การเมืองร้อน” เศรษฐกิจ “แล้ง” มันแก้นาน.....แต่คงไม่นานก่อนเรา “หงอก” สู้ สู้ ต่อไป พี่น้องประเทศไทย!! ฟ้าหลังฝน “สดใส” เสมอ แต่จะ “เมื่อไร” เท่านั้นเอง
-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

ทางใคร – ทางเขา

สยามรัฐ 10 เม.ย. 2552

ช่วงนี้นอกจากสภาวะบ้านเมืองที่ส่อเค้าว่าจะเกิดเหตุรุนแรงจนได้แต่นั่งนิ่งๆ แล้วภาวนาว่าขอให้เหตุการณ์จบลงโดยเร็วแล้วก็คงหนีไม่พ้น สิ่งที่ต้องคิดตามมาเกี่ยวกับ “ปัญหาปากท้อง” “ความวัว” ยังไม่ทันหาย (ตั้งแต่เมื่อครั้งปิดสนามบิน) ที่ออเดอร์หดตัวกันตอนไตรมาส 1 ในแบบประเมินได้

ส่วนธุรกิจยิบย่อย, SME รายเล็ก รายน้อย ก็ยัง “เหนื่อย” กับการ “เข้าไม่ถึง” สินเชื่อ ความจริงประการหนึ่ง คือ ธนาคารทุกวันนี้ไม่ใช่ไม่มีเงิน “มี” และ “แข็งแรง” มากด้วย เพราะดูแลความเสี่ยงไม่ให้เกิด “หนี้สงสัยจะสูญ” (NPL) ได้ดีมาก แบงค์น่ะอยู่ได้ แต่คน “ตายเรียบ” คงว่ากันไม่ได้ที่เค้าดูแลตัวเองอย่างดี (สัมมากัมมันตะ : การกระทำชอบ) ในวิธีทางของเขาที่เลี่ยงการรับ “หนี้เก่า” ใครต่อใคร

หนึ่งตัวอย่างที่ดูแล้ว “แปลก” แต่ “น่าทึ่ง” ไม่น้อย คือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ดิฉันได้มีโอกาสสัมภาษณ์ถึงวิธีในการดำเนินธุรกิจและพบว่า แบงค์อิสลามแห่งนี้เกิดมาเพียง 5 ปี (2448-2552) และมีเพียง 26 สาขา แต่พบว่าแบงค์มีเงินเหลือมากพอที่จะร่วมมือกับภาครัฐและกทม.เรื่องปล่อยกู้เสริมสภาพคล่อง

หลักการส่วนใหญ่จะเดินตามวิถีทาง “ศาสนาอิสลาม” คือ การเพิกเฉยต่อผู้ทุกข์ยากถือเป็น “การไม่สมควร” ที่นี่เค้าไม่ทิ้งลูกค้าค่ะเพียงแต่เลือกที่มั่นใจว่าเป็นลูกค้าดี – มีกำลังจริงๆ ช่วยเมื่อมั่นใจว่าลูกค้าผู้นั้นต้องมี หิริโอตตัปปะ : ความเกรงกลัวต่อบาป ในหลักการที่ไม่ขูดรีดรายได้จาก “ดอกเบี้ย” แต่ไปบวกเอากับ “กำไร” แทน

เช่นว่าถ้าอยากซื้อบ้าน แต่เงินไม่พอ ก็ไปขอแบงค์ ถ้าแบงค์คิดแล้วว่า “ผ่านเกณฑ์” ก็จะไปซื้อบ้านให้ บวกกำไรตามส่วนแล้วขายต่อ “ลูกค้า” ช่วงไหนเห็นว่าชักกำไรสูงกว่าดอกเบี้ยตลาดก็จะ Redate คืนให้ไม่เอาเปรียบแต่ถ้าดอกเบี้ยตลาดไปไกล แบงค์ยืนยันมั่นใจจะไม่ขึ้น “กำไร” ตาม

ฟังดูเข้าท่า แต่น่าจะเกิดได้ยากกับแบงค์พาณิชย์ เพราะหนี้เก่าที่เน่ามันต่างกัน !! ต้องมีโสรัจจะ (อย่าเลียนแบบ + แอบเจียมตน)!!

-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

“ดี” ไม่กลัว , กลัว “ไม่ดี”

สยามรัฐ 9 เม.ย. 2552

“การคิดดี ทำดี เป็นศรีศักดิ์
เป็นที่รัก ที่ต้องการ เกินขานไข
ไม่ต้องหลบ สายตา หนีหน้าใคร
ไม่ต้องกลัว ว่าผู้ใด ไปรังควาน

ช้างที่ตาย ทั้งตัว ใบบัวปิด
ไม่มิดชิด ต่อสายตา น่าสงสาร
จงทำดี ตลอดไป ปราศภัยพาล
ขอให้ท่าน จำบทกลอน ไว้สอนใจ”
(พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ : หลวงพี่น้ำฝน)

If you think well and do well it will make anyone
appreciated you can proudly live on and don’t have to
fade away from others.
Compare this with the elephant, the reason we can see
him dies is because he is too big to be hiden.
We can’t help feeling sorry for his fate. So, better
keep good behavior than let others know your bad side.”
(แปลความ : ทิชา สุทธิธรรม)


-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

เหตุใด OTOP ไม่ TOP FORM(ท็อปฟอร์ม)

สยามรัฐ 8 เม.ย. 2552

มหกรรมสินค้า โอท็อป (OTOP FESTIVAL) ทั่วกรุงเทพฯ จุดใหญ่ๆ ในเมืองเพิ่งผ่านพ้นไป ก็ไม่แปลกใจ เพราะรถติดขนานใหญ่มาร่วมๆ สัปดาห์ ไหนจะงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่ศูนย์การประชุมสิริกิติ์ งานบากกอกอินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ที่ไบเทคบางนาอีก ร่วมด้วยเช็ค 2,000 ช่วยชาติ ที่ให้ประชาชนกระหน่ำช็อปกัน รถเลยอัมพาตอย่างที่เห็น

เอ้า...ไม่ว่ากัน ไหนๆ จะช่วยกัน “กระตุ้น” เงินให้สะพัดก็ต้อง “เต็มหมัด” กันหน่อย แต่ข้อที่น่าสังเกตสำหรับ OTOP เมืองไทยคิดกันบ้างไหมว่าทำไมไม่ค่อยรุ่งเรืองอย่างที่ควรจะเป็น พอวิเคราะห์ได้ว่า

1. ฝีมือ handmade ของไทยไม่ค่อยคงที่ (ไม่ stable)
2. ผู้ประกอบการ OTOP รายเล็กมักจะสายป่านสั้น
3. การเข้าไม่ถึงสินเชื่อ ขาดเงิน “ต่อทุน”
4. OTOP สินค้าที่มาจากงานบางร้านไม่ใช่ระดับเกรด A ในเรื่องชื่อเสียง
5. ผู้ประกอบการที่มาออกร้าน คือ กลุ่มที่พอมีอันจะกิน คือ การสวมสิทธิ์และใช้
โอกาสสร้างรายได้ โดยการแฝงอยู่กับกลุ่มชาวบ้านระดับท้องถิ่นและทำสินค้า
OTOP เพื่อยังชีพจริงๆ
6. สินค้าอาจพอมีคุณภาพแต่ทำการตลาดไม่เก่ง
7. หากเกิดความไม่ประทับใจในสินค้าในครั้งแรก จะสร้างการจดจำที่ไม่ดีและจะเกิดการ
Discredit ในสินค้า OTOP ไปอีกนาน

ดังนั้น “พึงรักษาความดี ดุจเกลือรักษาความเค็ม” คงยังพอใช้การได้เสมอไป “Timely and Timeless” ที่เติมเต็มในความตั้งใจคงพอช่วย “สินค้า OTOP ไทย” ได้บ้าง อย่างน้อยก็ “ดิฉัน” คนหนึ่งล่ะ!!

-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

ปิด ไม่ มิด

สยามรัฐ 7 เม.ย. 2552

“ไม่มี ความลับใด ที่ไม่รู้
อาจขึ้นอยู่ กับเวลา ค้นหานั่น
บางเรื่อง อาจสอบถาม แค่ข้ามวัน
บางเรื่อง อาจบากบั่น หลายวันคืน

ทำดี – ชั่ว เรารู้ อยู่เต็มอก
ตรองให้ตก ในหัวใจ อย่าไปฝืน
การคบคิด ปิดบัง ไม่ยั่งยืน
เมื่อผู้อื่น เขาล่วงรู้ อดสูใจ”
(พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ : หลวงพี่น้ำฝน)

“No secret in the world,
depends on how long you’ll find it.
we ourselves completely know whether it is bad or good..
Be nice and frank is last long than being a liar,
sooner or later, the truth is found.”
(แปลความ : ทิชา สุทธิธรรม)

-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

“ใหญ่” ใช่ว่า “ไม่ล้ม”

สยามรัฐ 6 เม.ย. 2552

ไม่ใช่แค่หัวข้อที่คนทั่วโลกจะสนใจเท่านั้นว่าสหรัฐยักษ์ใหญ่จะกำหนดอะไรให้กับ “ชะตาชีวิต” ของ GM General Motor และไครส์เลอร์ แต่คนไทยอย่างพวกเราก็ยังคงเฝ้าตามเหตุการณ์นี้กันอย่างวันต่อวัน เพราะธุรกิจรถยนต์ของบ้านเราก็ถูกผสมผสานกับบริษัทแม่เหล่านี้อยู่มากกว่าครึ่ง (ข้อดีอยู่ที่การยอมรับในความต่างจนกระทั่งได้ส่วนผสมอันลงตัวอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมทั้ง 2 ฝ่าย)

แน่นอนว่าบริษัท อเมริกัน รวมกับวัฒนธรรมเจ้าบ้านอย่างไทย นับว่าเป็นลูกครึ่ง (Mix Blooded) ที่มีคุณภาพมาช้านานหลายทศวรรษ และทำเม็ดเงินเป็นกอบเป็นกรรมให้กับอุตสาหกรรมเหล็ก การประกอบชิ้นส่วน ซัพพลายเออร์ ยางพารา และสร้างงานได้หลายแสนตำแหน่งในบ้านเราและกว่า 1 ล้านตำแหน่งในสหรัฐ

คำถาม คือ รัฐบาลสหรัฐ จะ “ใจแข็ง” พอที่จะนิ่งเฉย (อุเบกขา : การวางเฉย) แล้วปล่อยให้สิ่งที่เรียกว่า “Too big to fail” ล้มละลายตายไปกับตาหรือไม่!! หรือจะเป็นลักษณะประกาศล้มละลาย ยุบบางหน่วยที่มีแต่ขาดทุนและเป็นภาระไปขายทิ้งแล้วปฎิรูปใหม่ให้เล็กลง แต่ทรงคุณภาพกว่าเดิม.....เป็นไปได้ไหม?

นอกเหนือจากการสังเวยด้วยตำแหน่ง CEO ของ “ริกแวกเนอร์” ที่ถูก “บีบ” ให้
ออกจากตำแหน่งอยู่นานสองนานจนทนแรงเสียดทานไม่ไหวต้องออกไปแบบ “อาลัยรัก” หักด้าม
พร้าต้วเองแบบนี้เห็นที่ “ทิม ไกธ์เนอร์” ท่านผู้เป็นรัฐมนตรีคลังต้องตระหนักในใจ “ดังๆ” ว่า ถ้า
“แวกเนอร์” ไม่เป็นฝ่ายไป “ไกธ์เนอร์” อาจเป็นรายต่อไปในฐานะที่ “มวลชน ไม่ปลื้ม”

“มีได้มา ก็ต้องเสียไป สิ่งใดๆ ล้วนต้อง trade of”
มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ต้องมี
เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์”

อยู่ที่ว่า....เวลารุ่งและร่วงจะเป็นของใคร...ต่างกรรม ต่างวาระ โดยแท้!!
-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

ฤาจะถึง “จุดจบ”

สยามรัฐ 3 เม.ย. 2552

ใกล้จะถึงวันขีดเส้นตายสำหรับเกาหลีเหนือประเทศที่ “ผู้นำ” มีความพิเศษและเป็นตัวของตัวเองอย่างสูง (อัตตา) ในชนิดที่อาจไม่ค่อยฟังใคร กำลังเตรียมการติดตั้ง จรวด (ที่อ้างว่าเป็นดาวเทียมสื่อสาร) แต่ต่างชาติ “ฟันธง” ไปตามๆ กันว่าเป็น “ขีปนาวุธพิสัยไกล” (แตโปดอง) ซึ่งถึงแม้ว่าในปีที่ผ่านๆ มา เกาหลีเหนืออาจจะไม่เคยเอาจริงสักรอบ ได้แต่ “เขียนเสือให้วัวกลัว”

แต่ก็สร้างความ “กลัวเกรงไม่น้อย” ประเดิมที่ “ญี่ปุ่น” ที่ถึงกับออกมาประกาศกร้าวว่าจะสกัดขีปนาวุธทุกชนิดที่บินได้และมาตกที่ญี่ปุ่นอาจดู “กระต่ายตื่นตูม” ไปนิด แต่ก็ถือว่ายืนอยู่บน “ความมีสติ” เต็มร้อย ส่วนเกาหลีใต้มีการเดินขบวนประท้วงถึงจุดยืนที่ไม่เห็นด้วยกับ “พฤติกรรม” ที่ไม่เป็นกุศล (อกุศลกรรม) ที่แม้จะคว่ำบาตรใส่เกาหลีเหนือไปหลายรอบก็ยังไม่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ที่หนักหน่อยเห็นจะเป็น “สหรัฐ” ที่ชัดเจนว่าจะตอบโต้แบบไม่ยั้งถ้าเกาหลีเหนือ “จุดพลังวินาศ” ให้เดือดร้อนในคาบสมุทรเกาหลี

สุดจะคาดเดาในขณะที่ประชาชนตาดำๆ ที่ยากจนจริงๆ ของเกาหลีเหนือยังต้องเก็บผัก เก็บหญ้ากินกันตาย นอกจาก “ผู้นำ” ที่จะไม่ทำอะไรเป็นประโยชน์แล้วยังเหมือนสายล่อฟ้าและ “ปลาทูเน่า” (ที่เน่าตัวเดียว ก็โดดเดี่ยวปลาทั้งเข่งได้) หมดยุคของผู้นำ “รุ่นใหญ่” ที่ฝักใฝ่แต่ “อำนาจ” และ “การเอาชนะ” คำสอนใจคนโบราณบอกว่า.....ถ้าพยายามแบบไร้สติที่จะเอาชนะใคร.....อาจจะกลายเป็น “ความพ่ายแพ้” ครั้งยิ่งใหญ่ที่ “เผาไหม้” ทั้งชาติ ทั้งคน และอนาคตในการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ดูต่อกันอีกนิดว่าวิกฤตครั้งนี้จะถึง “จุดจบ” หรือไม่!! ถ้า “รอด” ก็ดีไป เพราะการเบื่อหน่ายกับ “เกมประสาท” ยังดีกว่ามองคาบสมุทร “เกาหลี” พินาศไปกับตา!!!

-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

ทำดี จะดีนาน

สยามรัฐ 2 เม.ย. 2552

เห็นด้วยมั้ยค่ะ ว่า “อดีต” เป็นสิ่งที่ลืมยากมาก โดยเฉพาะถ้ายิ่งอดีตนั้นมันทำให้คนเรา “ปวดร้าวลึก” หรือ เป็นเรื่องที่เราอาจจะไม่ผิด แต่กลับเป็นผู้ถูกกระทำ ถูก “ม้วน” เข้าไปใน “เกลียวคลื่น” แห่ง “เกมการเมือง” ในองค์กร พอ “คลื่น” กระทบฝั่ง การรับรู้และการจดจำ “อดีต” มันไม่ได้ “กระทบฝั่ง” หายตามไปด้วย.....พอลืมตาตื่นก็เดินตุปัดตุเป๋กลับบ้านไม่ถูกกันเลยทีเดียว!! แฮ่ๆ อาจจะคนละ feeling กับ “อดีตในเรื่องของหัวใจ” หรือไม่ก็แล้วแต่ แต่ละคนค่ะ

“อดีตกาล ที่ อย่าครวญคิด
เพราะชีวิต ปัจจุบัน สำคัญกว่า
ทำวันนี้ ให้ดีไว้ ใสโสภา
เพื่ออนาคต ที่ดี ที่แน่นอน”
(พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ : หลวงพี่น้ำฝน)

แปลความว่า
Don’t think too much about what you’ve been passing through,
Because “Past” is not important than “Present”,
So, keep doing your “Best” today,
If it is good today, it is good in the future.
(ทิชา สทุธิธรรม)



- ทิชา สุทธิธรรม-
************************************************

สามัคคีธรรมที่ไม่ “นำพา”

สยามรัฐ 1 เม.ย. 2552

ทำเอาชาวโลกต่างตะแคงหูฟ้งกันครั้งใหญ่เมื่อ “จีน” สร้างกระแสข่าวใหญ่ที่ถ้าเป็นจริงได้ก็คงจะสมใจ “จีน” มั่กๆ นั่นคือ “ดอด” ไปเสนอ Idea กับคณะกรรมการกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ “IMF” ในช่วงจังหวะเวลาที่ไอเอ็มเอฟกำลังล่าเงินระดมทุนจากทั้งประเทศสมาชิก โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) “จาคะ” (การให้เพื่อเป็นทานอย่างเต็มใจ) เพราะหวังจะเอาไปกับประเทศกำลังพัฒนาที่เดือดร้อนและอยากจะ “กู้เงิน”

จีนใช้โอกาสนี้เสนอว่า ควรจะมีเงินสกุลใหม่ขึ้นมาบรรเทาหรือใช้แทน “ความเสี่ยง” ที่เกิดจาก “ดอลล่าห์สหรัฐ” เพราะความอ่อนแอของ “ดอลล่าห์” ที่เห็นชัดเจนว่าไม่สามารถจะแข็งค่าถาวรได้ “ผันผวน” ขึ้นมาเมื่อใดจิตใจของประเทศที่มีเงินถุงเงินถัง (ทุนสำรองระหว่างประเทศ) ที่ถูกเก็บเป็น “ดอลล่าห์” ก็เสี่ยง “ผันผวน” แบบเอาแน่ไม่ได้

ดังนั้นจะเสี่ยงกันอยู่ทำไม มาใช้สกุลเงินที่มีลักษณะผ่อนคลาย ผสมลักษณะอันโดดเด่นของค่าเงินหลายๆ ชาติที่อยากจะมี “เอี่ยว” ด้วยดีมั้ย จะได้เป็น “ผลประโยชน์ร่วมกัน”

โดยหลักการก็ดูเหมือนจะ Perfect…ถ้าคิด “บวก” หรือ “คิดไปข้างหน้า” อย่างเดียว ปัญหา คือ เมื่อยามเศรษฐกิจ “ตกสะเก็ด” ประเทศสหรัฐฯไอจาม ยังพอตามหา “จำเลย” ของเรื่องถูกว่า เป็นเพราะความหละหลวมของระบบการเงิน และเก็งกำไรค่าเงิน “ดอลล่าห์” หลับหูหลับตาก็ยัง “โทษ” ว่าอเมริกาผิด

แต่ถ้ากลายเป็น “ธุรกรรมหมู่” เชิดชูทุกค่าเงิน เขย่าๆ จนลงตัวเป็นเงินสกุลใหม่ ถ้าความแน่นอน “หดหาย” ป่วนเศรษฐกิจใหม่อีกรอบจะ “ตรวจสอบ” ว่า “ใครผิด” นอกจากจะ “เสียจริต” เพราะต้อง “จ้องตา” สอบกันเอง ร่วมหอลงโลง กันแล้วยังต้อง “เซ็ง” ใครจะ “เต็ง” รับผิดชอบต้อง “สอบ” กันนาน!! สามัคคีธรรมอาจไม่นำพา เสมอไป...

-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

จะ “หมู่” หรือ “จ่า” จะฝ่าไป

สยามรัฐ 31 มี.ค. 2552

คนทุกคนเกิดมาก็คงต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า “โตขึ้นจะเป็นอย่างไร” ปีหน้า เดือนหน้า วันหน้า จะมีอะไรเข้ามา หรือมีปัญหาอะไรรออยู่เบื้องหน้าให้ “ต้องแก้” ตอบยากค่ะ แม้แต่ “หมอดู” ที่แม้จะรู้ว่าคู่กับ “หมอเดา” แต่เราก็ยัง “ชอบดู” อยู่ดี ลองดูเถอะค่ะ ดูอดีต ดูง่ายกว่าเป็นไหนๆ แต่จะมีสักรายมั้ยที่จะรู้ “อนาคต” เอาแบบ แม่น มั่กๆ ดิฉันไม่เคยเจอค่ะ!!

“อนาคต” จักงดงาม สมความหวัง
หรือพลาดพลั้ง จนรันทด ไม่สดใส
แต่ก็เป็น ความฝัน อันยองใย
ที่ทำให้ มุ่งมั่น ฝ่าฟันมา
(พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ : หลวงพี่น้ำฝน)

แปลความว่า
“No matter how beautiful or bitter “the future”
will be, at least, it drives people’ s inspiration.
Undouptedly, it worths dreaming of”.
(ทิชา สุทธิธรรม)


-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

“ช่วยชัวร์” แต่กลัว “ไม่ทั่วฟ้า”

สยามรัฐ 30 มี.ค. 2252

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเชื่อว่าคนไทยกว่า 5 ล้านคนที่มีสิทธิ์ประกันตนและเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท คงจะตื่นเต้นคึกคักกันไม่น้อยกับ “เช็คช่วยชาติ” (Save – the – Nation – cheques) ที่มาพร้อมกับการจัดการที่ค่อนข้างเป็นระบบและขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน (ความสำเร็จบนความธรรมชาติ) , ธรรมชาติ = ธรรมะ : สิ่งที่ง่ายและจับต้องได้มากที่สุด

แม้จะมีความตั้งใจอันดี แต่ยังรู้สึกที่จะเป็นห่วงกับ “กลลวงมิจฉาชีพ” ไม่น้อย สิ่งที่ยากที่สุดอย่าง “ธนบัตร” พี่ไทยยังปลอมได้มาแล้ว หวั่นใจกับ “เช็คใบงาม” ที่แม้จะมีวิธีเตรียมระวัง 4 ข้อเด่นๆ
1. ต้องเขียนว่า “เช็คช่วยชาติ” ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก
2. สัญลักษณ์ “B” แทน “บาท” เป็นตัวนูน
3. ส่องไฟต้องเห็น “รูปดอกบัว” ของธ.กรุงเทพฯ ตรงกลาง
4. มีรอยปรุ 2 ด้าน

ก็ได้แต่ “ภาวนา” ว่า “อย่าได้มีการปลอมเลย”!!! “เช็คช่วยชาตินี้ดูเหมือนมีที่มาจาก “ไต้หวัน” ที่ก่อนหน้านี้มีการแจก “อั่งเปา” ให้ประชาชนชาวไต้หวันทุกคน 3,600 เหรียญไต้หวัน เพื่อให้ประชาชนจับจ่ายในช่วงเทศกาล “ตรุษจีน” ซึ่งต้องบอกว่า “ได้ผลน่าพอใจ” เพราะคนไต้หวัน “พร้อมใจ” ให้อั่งเปานี้เป็น “วาระแห่งชาติ” ติดป้าย “3,600” กันแทบจะทั้งเกาะให้โปรโมชั่น “ลด แลก แจก แถม” กัน แบบ “สามัคคี”

การคิดแบบ อริยสัจ 4 คือ
1. การพิจารณา ทุกข์ (ปัญกามีอะไรบ้าง)
2. สมุทัย (เหตุอยู่ที่ใด)
3. นิโรธ (แนวทางการแก้ปัญหา)
4. มรรค (วิธีดำเนินการให้บรรลุปัญหา)

ถึงจะถูกต่อว่า “เกาไม่ถูกที่คัน” หรือ “มรรค” ที่ไม่ตรงเหตุ “สมุทัย” แต่อะไร
เล่าจะน่า “appreciate” ณ ห้วงยามนี้ เท่ากับ “วิธี” เข้าถึงเงิน!! แจกเพลิน รับเพลิน ก็อย่า “เมิน” คนเบี้ยน้อยหอยน้อยที่ไม่มีร่อยรอย “ประกันตน” ชัดเจนก็แล้วกัน.....นั่นล่ะ “คนจน” ของจริง!!

-ทิชา สุทธิธรรม-
**************************************************

ถึงช้ำเลือดช้ำหนองก็ต้อง “นำ”

สยามรัญ 27 มี.ค. 2552

วันก่อนมีโอกาสไปดู Dragon Ball ภาคทันสมัยมาค่ะ ก็ถือว่าแปลกและสนุกดีน่าติดตามไม่แพ้ “การ์ตูน” ที่เราเคยติดตามตั้งแต่วัยเด็ก ดิฉันไม่ค่อยได้มีโอกาสดูการ์ตูนแนวเจ้าหญิง - เจ้าชาย สวยๆ งามๆ ซักเท่าไหร่ (เพราะโลกแห่งความจริงมันไม่ได้สวยหรูเหมือนความฝันนี่ค่ะ : Utopia โลกในอุดมคติ) อย่างไรก็ดี Dragon Ball เรื่องนี้ก็สอนให้ “รู้จักบุญคุณคน” !!!

ต้องยอมรับว่าใครมาเป็นผู้นำ โดยเฉพาะผู้นำภาคการเงินการคลังนี่ลำบากและมี “ความเสี่ยงสูง” กันทั้งนั้น แม้จะมารับตำแหน่งไม่นานอย่าง ทิม ไกธ์เนอร์ ก็ยังถูกมองว่า “ผิด” ที่ “ปล่อยให้เกิด” การจ่ายเงินโบนัสผู้บริหาร AIG และผู้นำบริษัทต่างๆ ที่เป็นระดับ “บน”

แม้ว่าจะเกิดความ “กลัว” กึ่ง “สำนึก” ที่จะมีผู้บริหารยอม “กลับลำ” “คืนเงิน” เต็มจำนวนและอาจได้เงินกลับมา “ครึ่งหนึ่ง” 75 ล้านเหรียญ จาก 165 ล้านเหรียญสหรัฐ (กำขี้ดีกว่ากำตด) ก็ตาม

แต่ร่างกฎหมายเก็บภาษี “โบนัส 90%” ที่ทางทีมงานของโอบามาเคยคิดทำเพื่อ “ไถ่โทษ” อาจมีแวว “ไม่ขลัง” เท่าช่วงแรก จะเป็นด้วยว่าโอบามาเริ่ม “รู้ตัว” ว่าหมด “ยุคฮันนีมูน” แล้วรึไม่ก็ไม่ทราบได้ เลยออกอาการ “แหยง” และว่า “อุ๊ย!! โหดไปหน่อย” และกลัวว่าอาจไป “ขัดรัฐธรรมนูญ” ได้

การเสียสละที่อาจจะมาพร้อม “การลำเอียงเพราะความรัก” ของโอบามาถูกย้ำชัดอีกรอบ เพระกระโดดมากางปีกปกป้อง “ไกธ์เนอร์” ที่ปั้นมากับมือว่า “ห้ามลาออก.....ถ้ามาขอออกก็จะบอกว่าเสียใจเพื่อนนายต้องทำงานต่อ” หนึ่งในคุณสมบัติของผู้นำ...ไม่ตัดสินการกระทำเพียงคำพูด....ในยามเศรษฐกิจ “ชำรุด” เรื่องดี – เรื่อง “บูด” คง “ปูด” มาอีก “เพียบ” เตรียม “รอได้” บทพิสูจน์อยู่ที่ใจ “หนักแน่น + มั่นใจ” บวก “ฝีปากและฝีไม้” จะยังพอ “ถูไถ” ได้ไม่ “อับจน” !!


- ทิชา สุทธิธรรม-
************************************************