วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

ทางใคร – ทางเขา

สยามรัฐ 10 เม.ย. 2552

ช่วงนี้นอกจากสภาวะบ้านเมืองที่ส่อเค้าว่าจะเกิดเหตุรุนแรงจนได้แต่นั่งนิ่งๆ แล้วภาวนาว่าขอให้เหตุการณ์จบลงโดยเร็วแล้วก็คงหนีไม่พ้น สิ่งที่ต้องคิดตามมาเกี่ยวกับ “ปัญหาปากท้อง” “ความวัว” ยังไม่ทันหาย (ตั้งแต่เมื่อครั้งปิดสนามบิน) ที่ออเดอร์หดตัวกันตอนไตรมาส 1 ในแบบประเมินได้

ส่วนธุรกิจยิบย่อย, SME รายเล็ก รายน้อย ก็ยัง “เหนื่อย” กับการ “เข้าไม่ถึง” สินเชื่อ ความจริงประการหนึ่ง คือ ธนาคารทุกวันนี้ไม่ใช่ไม่มีเงิน “มี” และ “แข็งแรง” มากด้วย เพราะดูแลความเสี่ยงไม่ให้เกิด “หนี้สงสัยจะสูญ” (NPL) ได้ดีมาก แบงค์น่ะอยู่ได้ แต่คน “ตายเรียบ” คงว่ากันไม่ได้ที่เค้าดูแลตัวเองอย่างดี (สัมมากัมมันตะ : การกระทำชอบ) ในวิธีทางของเขาที่เลี่ยงการรับ “หนี้เก่า” ใครต่อใคร

หนึ่งตัวอย่างที่ดูแล้ว “แปลก” แต่ “น่าทึ่ง” ไม่น้อย คือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ดิฉันได้มีโอกาสสัมภาษณ์ถึงวิธีในการดำเนินธุรกิจและพบว่า แบงค์อิสลามแห่งนี้เกิดมาเพียง 5 ปี (2448-2552) และมีเพียง 26 สาขา แต่พบว่าแบงค์มีเงินเหลือมากพอที่จะร่วมมือกับภาครัฐและกทม.เรื่องปล่อยกู้เสริมสภาพคล่อง

หลักการส่วนใหญ่จะเดินตามวิถีทาง “ศาสนาอิสลาม” คือ การเพิกเฉยต่อผู้ทุกข์ยากถือเป็น “การไม่สมควร” ที่นี่เค้าไม่ทิ้งลูกค้าค่ะเพียงแต่เลือกที่มั่นใจว่าเป็นลูกค้าดี – มีกำลังจริงๆ ช่วยเมื่อมั่นใจว่าลูกค้าผู้นั้นต้องมี หิริโอตตัปปะ : ความเกรงกลัวต่อบาป ในหลักการที่ไม่ขูดรีดรายได้จาก “ดอกเบี้ย” แต่ไปบวกเอากับ “กำไร” แทน

เช่นว่าถ้าอยากซื้อบ้าน แต่เงินไม่พอ ก็ไปขอแบงค์ ถ้าแบงค์คิดแล้วว่า “ผ่านเกณฑ์” ก็จะไปซื้อบ้านให้ บวกกำไรตามส่วนแล้วขายต่อ “ลูกค้า” ช่วงไหนเห็นว่าชักกำไรสูงกว่าดอกเบี้ยตลาดก็จะ Redate คืนให้ไม่เอาเปรียบแต่ถ้าดอกเบี้ยตลาดไปไกล แบงค์ยืนยันมั่นใจจะไม่ขึ้น “กำไร” ตาม

ฟังดูเข้าท่า แต่น่าจะเกิดได้ยากกับแบงค์พาณิชย์ เพราะหนี้เก่าที่เน่ามันต่างกัน !! ต้องมีโสรัจจะ (อย่าเลียนแบบ + แอบเจียมตน)!!

-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น