สยามรัฐ 19 ส.ค. 2552
หวังว่าคงจะยังไม่ “ล่า” จนเกินไปที่จะคุยถึงวิธีการสื่อสารยุคใหม่บนโลกไซเบอร์ Social Network ที่เรียกกันว่า Twitter ที่เหล่าคนดังทั้งระดับประเทศและระดับโลกต่างลงมาใช้ช่องทางนี้ สร้างประโยชน์ทั้งทางชื่อเสียง ชีวิตและธุรกิจ ตั้งแต่ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ของสหรัฐ แลร์รี่ คิงซ์ คนข่าวระดับโลก ซูเปอร์สตาร์ชื่อดัง หรือแม้แต่นักการเมืองดังบ้านเราอย่างท่าน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ , รัฐมนตรีคลัง กรณ์ จาติกวณิช , รองนายกฯ กอบศักดิ์, รมต. ประจำสำนักนายก สาธิต วงศ์หนองเตย เหล่า “เซเลป” เมืองไทย และนักการตลาดขั้นเซียน ธันยวัชย์ ไชยตระกูลชัย
แต่ทุกอย่างล้วนมาจากต่างจิตต่างใจ (นานาจิตตัง) คนบางคนเล่นเพราะมีเหตุผลที่จะเล่น เช่น นักการเมืองเล่นเพื่อให้ประชาชนรู้สึกใกล้และง่ายที่จะเข้าถึง ดาราเล่น เพื่อสร้างแฟนคลับ นักข่าวเล่น เพื่อบอกสาระภูมิความรู้ด้านการข่าว คนธรรมดาเล่น เพื่อหาเพื่อน เจ้าของรายการเล่น เพื่อรักษากลุ่มผู้ชม นักการตลาดเล่น เพื่อธำรงองค์ความรู้ที่จะบอกเล่ากับคน (ประโยชน์มีไว้ให้หวังและสร้างเสริม)
บทเรียนที่ดีมากอย่างหนึ่ง คือ การเล่น Social Network ต้องรู้จักรักษาระยะห่างและวางตัวตนในจุดที่ไม่ทำให้คนอื่น เข้าใจผิด มีคนธรรมดาจำนวนไม่น้อยที่อยากจะเข้าถึงคนที่ไม่ธรรมดา เพราะฉะนั้นถ้าต้องการความเป็นส่วนตัว (สันโดษ) ก็ไม่ควรเล่น
อย่าลืมว่า ชีวิตคนทำงานโดยปกติ คงไม่ได้มีเวลา เข้าเน็ต หรืออยู่หน้าคอมฯ ทั้งวัน ต่อให้เป็น แบล็คเบอรี่หรือมือถืออินเตอร์เน็ต 24 ชั่วโมง เองก็ตามเถอะ จะมีก็แต่คนบางกลุ่มที่หลงไหลและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไซเบอร์ ที่สามารถนั่งโต้ตอบได้ทั้งวัน หรือถ้าตีความให้ลึกและชัดกว่านั้น โลกไซเบอร์อาจจะให้สังคมใหม่ กับคนที่ไม่ค่อยมีสังคม แต่จะเป็นสังคมที่ควรเชื่อถือ หลงไหลหรือไว้วางใจได้หรือไม่จะเป็นแค่กระแส หรือถาวรตลอดไป ไม่ขอตอบ เพราะ เป็นเหตุผลและประสบการณ์ตรง (ส่วนบุคคล) จริงๆ ไม่ต้องการอย่างยิ่งที่จะถูกให้น้ำหนัก จนไป “หัก” ใครๆ ที่พิศมัยใน Twitter
(ทิชา สุทธิธรรม : Twitter@Ticha4tv)
**************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น