หลายวันก่อน ดิฉันบังเอิญมองเห็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง สามารถให้แสงสว่างได้และฟังวิทยุก็ได้ในเวลาเดียวกัน เรียกว่า “ไฟฉายวิทยุ” ด้านนอกจะเห็นองค์ประกอบของความเป็นวิทยุมี AM / FM ชัดเจน ด้านบนเป็นหน้าปัดไฟฉายที่ใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย กำลังวัตต์คงสูงอยู่ เพ่งดูแล้วชวนให้นึกว่าเออ! มันทำได้หลายอย่างดีนะ ถือเป็นอุปกรณ์แบบผสมผสาน ภาษาหรูหน่อยเรียก “บูรณาการ” ทำหลายๆ อย่างแบบสอดแประสานกัน
ไอเดียเลยบรรเจิด เพราะบ้านเรา ณ หัวหิน ได้เกิดการประชุม “อาเซียซัมมิต” ขึ้น ซึ่งก็ดีที่ประเทศในกลุ่มอาเซียน บวก3 จะได้ปรับทิศทางฟื้นฟูเศรษฐกิจไปในทางเดียวกัน ที่ค่อนข้างชัดเจน นั่นคือ กำลังจะมี “กองทุนอาเซียน” ขึ้น ที่ประเทศในเอเชียจะลงขันกัน ตามกำลัง 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วน “กลุ่มบวก3” ที่เงินหนาหน่อยก็ลงมากหน่อย 80 เปอร์เซ็นต์ น่าเสียดายที่ “อดีตเสือ” อย่าง “สิงคโปร์” รู้ตัวตั้งแต่เนิ่นๆว่าไม่ไหว ไม่พร้อมเจียดเงินใส่เข้ามาในกองทุน เพราะขาดดุลการลงทุนไปหลายหมื่นล้าน เอาน่า.....ไม่ว่ากัน “กันไว้ดีกว่า รู้ตัวช้าเดี๋ยวล่มจม” “มัชฌิมาปฏิปทา” น่ะดีแล้วมากไปก็ทุกข์ น้อยไปก็เป็นทุกข์อีก
ประเทศไทยเรากำลัง “บูรณาการ” ในหลายๆ เรื่อง เริ่มจากสิ่งที่ทำให้คนไทยทุกข์ร้อนมากๆ ก่อน ตั้งแต่การไม่มีงานทำ ถูกเลิกจ้าง เพราะไลน์การผลิตมันจำเป็นต้องลด เนื่องจากไม่มีคำสั่งซื้อเข้ามา (NO ORDER) ก็เห็นมีเงินจัดสรรจะให้ภาคแรงงาน 6,900 ล้านบาท เพื่อฝึกอบรมทักษะคน (ซึ่งจะละลายแม่น้ำหรือเปล่าก็ไม่รู้) แต่อาจจะดีกว่าเฉยๆ
น่าจะต้องมีการ Classify หรือมองภาพคนและแบ่งได้ว่าเขาผู้ตกงานผู้นั้น ต้องการอะไร ฝึกทักษะแบบไหน เหมาะสมกับการรองรับงานอย่างไร ต้อง “บูรณาการ” กับหน่วยงานในท้องถิ่นหลายๆ ประเภทด้วยไม่ใช่โยนเงินให้ แต่ไม่บริหาร และตามผลงาน
หาก “บูรณาการ” คือ การทำอย่างสอดประสานและมีสติ “คิดดี” “(สัมมาทิฐิ : ความเห็นชอบ)” เมื่อรวมกับ “ทำดี” “สัมมากัมมันตะ: การงาน, การกระทำชอบ” “ปัญญา” ปัญญาก็จะเกิดตามมาเหมือน “ไฟฉายวิทยุ” ที่กระบอกหนา แต่ทำหน้าที่ “ส่องแสง – แรงวัตต์ – ชัดเสียง” ทนแรง “เหวี่ยง” แถม “ถ่องแท้” แก้ด้วย “หลักการ” ....
-ทิชา สุทธิธรรม-
*********************************
วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
เลือกที่จะเป็น Choose to be
“คนเราแม้เลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะเป็นคนดีได้
ถ้ามองสูง เรายังขาด หากมองต่ำ เรายังเกิน
ยังไม่จน อยู่อย่างคนจน จะไม่มีวันจน
ยังไม่รวย อยู่อย่างคนรวย จะไม่มีวันรวย”
แปลความโดย ทิชา สุทธิธรรม ว่า
“We cannot choose to born, but choose to be,
With over-expectation we lack, and with under-expectation, we’ll find ourselves too much gaining,
The rich live poorly while the poor live richly,
the former servive.”
ชีวิตน่ะ ไม่มีลิขสิทธิ์ในการคิดทบทวน คิดแง่บวกๆ ให้ตัวเองบ้าง ก็ไม่มีใครว่า เลิกน้อยใจ
ในโชคชะตาและฟันฝ่าด้วยความดี “นี่” สิคนจริง
- ทิชา สุทธิธรรม-
******************************
วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
Sleepless Giant ยักษ์ใหญ่ไม่หลับ
ความโชคดีประการหนึ่งที่พอจะตอบได้ นั้นคือ คนรวย หรือประเทศที่ร่ำรวย นั้นมีสายป่านที่ไกลกว่า เมื่อเงินทุนถึง ความเจริญก็มา(เงินมางานก็เดิน) อานิสงส์ที่ได้จากการมี “เงินทุน” แล้วนำมา “ต่อทุน” นั้นไม่จบไม่สิ้น นี่ก็เป็นเหตุผลได้ประการหนึ่ง แต่ไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด
กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ซึ่งขอเรียกว่า
“ประเทศจีน” ณ เวลานี้เป็นช่วงที่ผู้นำประเทศกำลัง “ง่วน” อยู่กับการเยือนต่างประเทศ ประธานาธิบดี หู จิน เทา กำลังเดินทางเยือนทวีปแอฟริกา 4 ประเทศ คือ มาลี เซเนกัล แทนซาเนียและมอริเซียส 4 ประเทศ ที่ถูกมองว่ามีทรัพยากรมีค่าที่น้อย ถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ ในแถบนี้ แต่จีนก็ยังต้องไปเยือน “เพื่อภาพลักษณ์” เพราะหากมัวแต่ไปประเทศที่มั่งคั่งมีสินแร่มากมาย จะกลับกลายถูกมองเป็น “นักแสวงหาผลประโยชน์”
แต่ก็ได้ประโยชน์มาไม่น้อยจากการเป็น “ยักษ์ใหญ่ผู้ตื่นอยู่เสมอ” เพราะแค่ขี้หมูขี้หมา จีนทำข้อตกลงทั้งเรื่องเงินทุน ลงทุนร่วมกัน ช่วยเหลือเรื่องสาธารณูปโภคกับเซเนกัลมาไม่น้อย และเซเนกัลที่หลายประเทศมองข้ามก็ยังมี แร่เหล็ก ทองคำ ให้ขุดได้อีกเหลือเฟือ ในขณะที่ประธานาธิบดีเยือนแอฟริกา รองประธานาธิบดีก็ไม่น้อยหน้า “สี จิ้น ผิง” ก็เดินทางไปเจรจาในเรื่องการค้า การลงทุนกับเวเนซุเอลา ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ อย่างงดงาม มีการลงนามความตกลงกันได้ถึง 12 ฉบับ โดยเนื้อหาหลักๆ ที่จีนจะเป็นผู้ให้กู้เงิน เพื่อแลกกับการนำเข้าน้ำมันมากขึ้นจากเวเนซุเอลา (เป็น 1 ในประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก OPEC) และจีนก็ยังกระทำการแบบเดียวกันนี้ด้วยกับประเทศรัสเซียด้วยเหตุผลทางการค้า เพราะรัสเซียสามารถส่งออกน้ำมันได้เบอร์ 2 ของโลก แม้จะอยู่นอกกลุ่ม OPEC แค่รัสเซียส่งน้ำมันให้จีนประเทศเดียว ก็ไม่ต้องเหนื่อยหาตลาดไปทั้งปีแล้วมีหรือที่จะไม่สนใจ
หาก “วิริยะ” คือ “ความเพียรพยายาม” ก็ต้องไม่มองข้าม “ยักษ์ใหญ่” อย่างจีนที่ยอม “อดทน” ในความเพียร (อตุสาหะ) จนได้ดีเป็น “ยักษ์ใหญ่ผู้ไม่เคยหลับ” ในยามเศรษฐกิจ “หลับไหล” ย่อม บินไกล หลายพันไมล์กว่า ยักษ์ใหญ่ ที่ลืม “ขับ” เพราะ “หลับ” เพลิน ...
-ทิชา สุทธิธรรม-
******************************
วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
รู้แน่ แม่รัก
“รักใดเล่า รักแน่ เท่าแม่รัก
ผูกสมัคร ลูกมั่น มิหวั่นไหว
ห่วงใดเล่า เท่าห่วง ดังดวงใจ
ที่แม่ให้ แก่ลูก อยู่ทุกครา”
(พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ : หลวงพี่น้ำฝน)
This love is great when mom gives,
This gift is great when mom drives,
Mom tightly binds you in her mind,
Put you high kindly cos she cares.
(ถอดความโดย ทิชา สุทธิธรรม)
- ทิชา สุทธิธรรม-
************************************************
วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
จิตตะของขุนคลัง
ผู้อ่านเห็นด้วยมั้ยค่ะว่า ใจหนึ่งก็นึกตำหนินิดๆ “เป็นถึงรัฐมนตรีคลัง” ที่แบกหน้า แบกตา ของประเทศญี่ปุ่นไม่ใช่น้อย น่าจะมีความเอาใจใส่ต่องานมากกว่านี้ (จิตตะความเอาใจใส่ต่อหน้าที่) ดังเช่น หลักธรรม อิทธิบาท 4 คือ
* ฉันทะ – ความพอใจ รักงาน * วิริยะ – ความเพียรพยายาม
* จิตตะ – ความเอาใจใส่ * วิมังสา – การใคร่ครวญหาเหตุผล
แต่พอคิดใหม่ก็เริ่มเห็นใจ เมื่อเริ่มมองเห็นว่าจุดจบลางๆ จากเหตุแรกเริ่มที่ไม่ดี ผลจึงดีได้ยาก เลยเริ่มให้คะแนนยกย่อง “วีรบุรุษหน้าบาง” ที่ตัดสินใจ ลาออกกู้ภาพลักษณ์ !! เค้าคนนี้ถูกมองว่ามีส่วนทำให้คะแนนนิยมในรัฐบาลนายกรัฐมนตรี ทาโระ อาโสะ เสื่อมถอยเหลื่อไม่ถึง 10 % (ซึ่งน้อยจนไม่น่าจะอยู่รอดได้นาน)
จากภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ย่ำแย่หนักเป็นทุนเดิม GDP ไตรมาส 4 ปี 2551 ติดลบ
3.3 % เข้าสู่ภาวะถดถอย Recession เต็มตัว เพราะ GDP ลดลงถึง 3 ไตรมาสติดต่อกัน การส่งออกที่ทรุดหนัก จากเสาหลักรถยนต์ที่เคยส่งออกได้ในปริมาณมาก อย่างโตโยต้า ก็ออกอาการฝืดหนัก เพราะผู้ซื้อรายหลักอย่างประชากรสหรัฐกลับเป็นกลุ่มที่ปฏิเสธการบริโภค เพราะยังอยากเจียดเงินอันน้อยนิดที่เหลือไปซื้อข้าว เช่าบ้าน ผ่อนบัตรเครดิต จะมามองตลาดยุโรป ก็เจอกำแพงชาตินิยมที่มักจะซื้อรถยนต์ที่ผลิตจากผู้ประกอบการในยุโรปด้วยกัน แถมสถานการณ์การเงินการธนาคารก็ร่อแร่ รอวันรัฐบาลมาซื้อเป็นสมบัติรัฐ (Nationalization) เช่น แบงค์ในเยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ ยังพ่วงด้วยการอ่อนค่าลงของเงินยูโร ซึ่งยิ่งสะท้อนว่ารับไวรัสมาจากสหรัฐเต็มๆ
สรุปคือ นี่คือขาลงของญี่ปุ่น และรัฐบาลญี่ปุ่นอย่างเป้นได้ชัด ที่นอกจากปัญหาเศรษฐกิจกายภาพอันยากเกินเยียวยา กลับมีตัวแปรอย่างขุนคลังท่านนี้มาทำปฎิกิริยากระตุ้นผลลัพธ์ได้เร็วขึ้น จึงเป็นภาวะที่ “ไม่ลาออก - ก็แย่” “ลาออก - ก็ยิ่งแย่” แต่ยังช่วย “สร้างภาพ” ได้บ้าง แม้จะค่อนข้างเป็นภาพ “ลวงตา” มานาน เรื่องเล็ก – น้อยนิด มหาศาลแบบนี้ไม่เคยปราณีใคร ประเทศไทยก็อาจเข้าข่ายมากซึ่งภาพ(ลักษณ์)ลวงตา น้อยซึ่งคนหน้าบาง ครม.ที่มีดีเฉพาะอย่าง
“ดี” ตรงที่ยังไม่ “เมา”
-ทิชา สุทธิธรรม-
*******************************************************
วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
รู้รัก อย่างมีสติ
เทศกาลแห่งความรักผ่านไปแล้วล่ะค่ะ แต่ดิฉันยังอยากนึกถึงอยู่ไม่ใช่ว่าความรักล้นใจหรอกนะค่ะ แค่นึกถึงว่า บางทีคำจำกัดความของเทศกาลอันฉาบฉวยอาจจะมีความสำคัญ ถ้าพิเคราะห์ลงรายละเอียดจะมากหรือน้อยก็อยู่ที่เราให้คุณค่ากับมันค่ะ ถ้าใช้จังหวะและโอกาสวันสำคัญมาเตือนสติตัวเองได้บ้างก็จะดีไม่น้อย
“จงเตือนตน ของตน ให้พ้นผิด
ตนเตือนจิต ตนได้ ไม่เลื่อนเปื้อน
ตนเตือนตน ไม่ได้ ใครจะเตือน
คนแชเชือน ใครจะช่วย ให้ป่วยการ”
(พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ : หลวงพี่น้ำฝน)
“Be careful and warn yourself,
Be careful and warn your mind,
Guard your life with your own sub-conscious mind,
It is you who are not get hunt and blinded.”
(แปลความโดยทิชา สุทธิธรรม)
จะกี่เทศกาลผ่านมาแล้วผ่านไปย้ำเตือนใจน่ะทำได้(ถ้าจะทำ) แต่ชนะใจน่ะ...ทำยาก...ถ้าอยากรู้ ต้องลองดูค่ะ
ทิชา สุทธิธรรม
************************************************
วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
"ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" ชีวิตพี่เพียงพอและพอเพียง
กระแส “โลกาภิวัฒน์” กฎการเคลื่อนย้ายของการลงทุนที่สร้างโอกาสให้กับนานาประเทศนับไม่ถ้วน เกิดการเปิดตลาด การเปลี่ยนมือของกลุ่มทุน การเกื้อหนุนซึ่งกันและกันของอุตสาหกรรมกลุ่มต่างๆ ส่งออก – นำเข้า – รับจ้างผลิต ความเจริญที่มาพร้อมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เราเคยเรียกร้องอยากจะได้ (โลภะ) พอได้แล้วติดใจอยากให้อยู่กับเรานานๆ (โมหะ) กลายเป็นสิ่งที่หลายประเทศกำลังคิดทบทวนว่า “ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะพึ่งพาระบบทุนนิยมเสรี” ที่ว่านี้ให้น้อยลง เพราะวิกฤตครั้งนี้แตกต่างจากปี 2540 สมัยต้มยำกุ้งที่ประเทศไทยฟองสบู่แตก ทั้งหนี้เน่า – หนี้สินท่วมตัวและได้แพร่ความเสียหายไปสู่เพื่อนบ้านของเราย่านเอเชียไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น แต่ไม่อาจแพร่ไปถึงสหรัฐ สหภาพยุโรป (พูดง่ายๆ เราหายนะ แต่เขาชนะ) ซึ่งทำให้เรายังพึ่งพาการส่งออกจากเขาได้อยู่ แต่ในครั้งนี้ความจวนเจียนจะล่มสลายของระบบการเงินโลกที่เริ่มก่อหวอดมาจากสหรัฐอเมริกาตัวแม่ ตลาดส่งออกที่เคยเป็นของจริง ของแท้ แต่ดั้งเดิมของเราเลยแย่เหมือนหันหมด เมื่อเป็นแบบนี้ก็ไม่สามารถพึ่งพาระบบทุนของโลกได้อีกต่อไป Campaign ที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้กันในตอนนี้เลยกลายเป็น “เลิกพึ่งพาส่งออก ให้พึ่งตนเอง” (อัตตาหิ อัตโนนาโถ) หรือตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เช่น จีนรณรงค์ให้ประชาชนรักการออกเงินมากขึ้น และกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศอย่างมากไม่เว้นแม้แต่ในชนบท ตั้งแต่ส่งเงินไปอุดหนุนให้ชาวบ้านเอาไปซื้อเครื่องให้ไฟฟ้าที่ผลิตโดยผู้ประกอบการจีน เพื่ออุตสาหกรรมแขนงนี้จะได้ขยายตัว และเปลี่ยนตัว CEO ของเลอโนโว จากชาวอเมริกันกับมาเป็น หยาง เหยินซิง ชาวจีน เพราะเห็นว่าการเร่งกำลังบริโภคในประเทศ ณ ยามนี้ สำคัญกว่าการเอาใจตลาดต่างประเทศหรือที่อินเดียก็จะมีการเก็บภาษีผู้ประกอกการที่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศสูงขึ้น เพราะถือว่าประเทศเสียผลประโยชน์ ไม่แตกต่างกับประเทศไทยที่เดาได้ว่าทั้งปีนี้ตัวเลขการส่งออกก็จะยังติดลบ คนไทยก็เริ่มรู้จักกับ “ความพอเพียง” (Sufficiency Economy) กันมากขึ้น เพราะตะเกียกตะกายไปในวันที่สายป่านยาวไม่ถึงหวังพึ่งตลาดใหม่ก็เลือนลางลองหันมามองการเกษตรดูบบ้างถึงจะเป็นของโบราณ แต่ก็เป็นอู่ข่าว อู่น้ำ ชั้นดีที่เพียงพอและพอเพียง
**********************************
วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
แด่ใจทุกดวงที่หวงเก้าอี้
“เมื่อได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
ให้เสกคาถาว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
เมื่อสิ่งเหล่านี้เสื่อม จะได้ไม่ทุกข์ทรมานใจ” (หลวงพี่น้ำฝน)
ถอดความได้ว่า
“To realize human life cycle is to lead you over all sufferings. Once on one
success is gradually resumed and down helplessly. Yet, it is the matter of fact.”
อยากหวงแหนหรือกอดเก็บเก้าอี้ไว้นานๆ ก็ย่อมได้ แต่ถ้ายึดมั่น ถือมั่นจนเกินไป จะดึงชีวิตและจิตใจให้ต่ำลง
************************************************
วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
อย่าลืมดิน ถิ่นกำเนิด
รู้สึกดีใจอยู่ได้ไม่นาน “Honeymoon Period” ของเกษตรกรก็ต้องสิ้นสุดลงแค่ไม่ทันข้ามปี จะด้วยการตกลงอย่างแรงของระบบเศรษฐกิจโลกหรือความตื่นกลัว (Panic) ของคนที่เกี่ยวข้องกลัวความนิยมตกลงตามภาวะเศรษฐกิจยิ่งโหมกระพือโครงการกู้ศรัทธาจากประชาชน แต่กลับทำให้ราคาข้าว หมู พืชเกษตรหลายชนิดตกต่ำ เกษตรกรที่เลี้ยงไก่กำไรต่อตัวแค่ 20 บาท ถ้าเลี้ยงสัก 100 ตัว ต่อเดือนกำไรก็แค่ 2,000 บาท แถมที่ดินก็มีจำกัด ไหนจะต้องแบกภาระครอบครัวอีก นอกจากราคาสินค้าเกษตรอย่างเนื้อสัตว์ ข้าว จะร่วงแล้วคนปลูกยางพารา ปลูกมันสำปะหลัง ยิ่งแย่ใหญ่ เพราะปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัวก็ทำให้คนไม่ซื้อรถ บางคนอยากซื้อแต่ไฟแนนซ์ไม่ปล่อย ตลาดรถฟุบ , ลดไลน์การผลิต ปิดโรงงาน ลดคนงาน ซัพพลายเออร์ที่ทำล้อรถยนต์สะเทือนหนักยางพาราก็ราคาตกเอาๆ ปีที่แล้วกิโลกรัมละ 70 บาท ปีนี้เหลือไม่ถึง 30 บาท
เห็นมั้ยค่ะ ชีวิตเกษตรกรไม่ง่าย ยังขาดแคลนหลายสิ่งขาดเทคโนโลยี ขาดตลาด ขาดเงินทุนก็สำคัญ เกษตรกรน่ะ อยากจะขอกู้เงินมาเป็นน้ำเลี้ยงกันใจจะขาดแต่กลับถูกธนาคารมองว่าเป็นกลุ่มที่ถ้าปล่อยกู้มาให้แล้วคงมีความเสี่ยงที่จะเป็น “หนี้เสีย” สูง ก็แล้วเกษตรกรจะมีเครดิตได้อย่างไรในเมื่อพืชผลเกษตรยังราคาตก เปรียบเทียบง่ายๆ กับเกษตรกรญี่ปุ่นล้วนๆ ไม่ใช่แง่ของธุรกิจหรือนายทุน เชื่อมั้ยค่ะชาวนาญี่ปุ่นถูกยกย่องประดุจซามูไร เพราะเป็นกระดูกสันหลัง คนญี่ปุ่นยกย่องส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรกันสุดตัว นอกจากญี่ปุ่นจะไม่สั่งสินค้าเกษตรจากนอกประเทศ เพื่อให้เกษตรกรญี่ปุ่นรับรายได้เต็มๆ แล้วยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตร เช่น ข้าว ในแต่ละตำบลมีสี – กลิ่น แพคสวยงาม ไม่ต้องแปลกใจค่ะถ้าจะเห็นชาวนาญี่ปุ่นท่องเที่ยวรอบโลกได้ก่อนประเทศอื่น นี่ล่ะอานิสงส์ของการรำลึกถึงบุญคุณชาวนา
“พระพุทธองค์ ตรัสสอนว่า บุตรและธิดาทั้งหลายต้องมี กตัญญุตา คือ รู้คุณท่านบำรุงพระคุณของทานให้มีความเจริญ”
**********************************
วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ตกหลุมรักสำคัญไฉน
อีกหนึ่งประเทศที่อยากจะกล่าวถึง คือ สิงคโปร์ ซึ่งเริ่มก้าวเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถอดถอยเป็นประเทศที่ 2 ในเอเชียรองจากญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ สิงคโปร์เพิ่งออกมาแก้ต่างถึงประเด็น “เก่งเรื่องการผลิตลูก” ที่นานาประเทศยกฉายานี้ให้ จะไม่ให้คิดเช่นนี้ได้อย่างไร คุณผู้อ่านเชื่อมั้ยค่ะว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลสิงคโปร์ทำเกือบทุกวิถีทางให้ประชากรของสิงคโปร์เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ขยายเวลาปิดไนท์คลับ สถานที่นัดพบหลังเลิกงาน เพื่อเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวมีโอกาสตกหลุมรักแล้วนำไปสู่การสร้างครอบครัว เพราะชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบท่ามกลางการแข่งขันสูง แถมอัตราหย่าร้างก็มากเป็นเงาตามตัว ผู้คนก็เลยเห็นความสำคัญเรื่องงาน (Task Oriented) มากกาว่าการออกเดท (Dating) เห็นมั้ยล่ะค่ะว่าประเทศที่ประชากรมีคุณภาพแต่หากมีน้อยเกินไป หรือ ขาดแคลนซึ่งดัชนีการตกหลุมรัก (Falling In Love Index: ผู้เขียนคิดเอง) ก็อาจส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เหมือนกัน มีมุมมองความรักที่น่าสนใจของกวีเอก “เพลโต” เจ้าของนิยาม Platonic Love ความรักแบบพลาโทนิค ซึ่งหมายถึงความรักที่มากกว่าความใกล้ชิด แต่เป็นความรักที่เชื่อมโยงถึงจิตวิญญาณของคน 2 คน เป็นความรักที่ให้สติ(การรู้ตัว) และสร้างแรงบันดาลใจ ให้รู้จักมองโลกได้อย่างลึกซึ้ง ดิฉันได้แต่แอบคิดไปว่าความรักคงไม่ใช่ทุกสิ่ง แต่ถ้าความรักของคนทั้งโลกเป็นอย่างที่เพลโตว่า โลกเราคงก้าวได้ไกลขึ้นในยุคที่หัวรถจักรไร้ทิศทางเช่นนี้..... เห็นด้วยมั้ยค่ะ...
-ทิชา สทุธิธรรม-
**********************************
วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
อิจฉาได้แต่อย่าริษยา
“ลมแห่งความอิจฉาริษยา” แทรกซึมไปในทุกสังคมไม่วายเว้น ไม่ว่าจะเป็นวงการมายา หรือ กึ่งมายา หรือ ต่อยอดไกลถึงวงการธุรกิจ ที่ต้องท่องคาถาประจำใจ “อย่าให้ใครดีเกินหน้า” เพราะฉะนั้นไม่แปลกหรอกค่ะที่คุรจะเจอเข้าสักดอกสองดอกเป็น “น้ำจิ้มแจ่ว” พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (หลวงพี่น้ำฝน) ท่อนสอนว่า
“จงทำดี ให้คนอิจฉา ดีกว่าทำชั่วให้คนด่าและสาปแช่ง”
“Do well and be jealous of by others is better than do wrong and turn out badly.”
เปรียบเทียบกับ “จงทำดี แต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน”
คุณล่ะ เลือกที่จะอยู่ในสถานการณ์ใด
-ทิชา สุทธิธรรม-
************************************************
วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
one man show
-ทิชา สุทธิธรรม-
********************
วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ยิ้มรับความเปลี่ยนแปลง
“ยามบุญมา กาไก่ กลายเป็นหงส์
ยามบุญลง หงส์เป็นกา น่าฉงน
ยามบุญมา หมาไก่ กลายเป็นคน
ยามบุญหล่น คนเป็นหมา น่าอัศจรรย์”
อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ “Uncertainty is forever – ness” ความแน่นอนก็คือความไม่แน่นอน เฉกเช่นเดียวกับความเปลี่ยนแปลงคือ สิ่งเป็นนิรันดร์
ฝ่าอุปสรรคแล้วยิ้มรับความเปลี่ยนแปลงกันนะค่ะ
วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ชีวิตต้องสู้ถึงจะอยู่รอด
-ทิชา สุทธิธรรม-
*************************************
วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ขงเบ้ง เดอะ ฮีโร่
ในสามก๊กกำลังพลแค่หลัก 3 หมื่นของจิวยี่ เมื่อเทียบกับ 3 แสนของโจโฉ ถือว่าห่างกันหลายช่วงตัว ซึ่งถ้าขาด “กลลวง” อันปราดเปรื่องและ “ความใจเย็น – หยั่งรู้” ของ “ขงเบ้ง” แล้ว ทัพเล็กของจิวยี่คงแหลกเป็นจุณ ลองวางตัวละครเล่นๆถ้าเปรียบ “ทิโมธี ไกธ์เนอร์” ขุนคลังผู้ที่จำเป็นต้องหยั่งรู้ ให้ได้เหมือนขงเบ้งจะมีกลลวงเชิงจิตวิทยา หรือ กลไกเชิงคุณภาพประการใดที่จะฟื้นภาคการเงินของเศรษฐกิจสหรัฐได้บ้าง
ในแง่วิชาการถ้าไม่ลดดอกเบี้ยก็คงต้องอุดเงินรัฐเข้าไปซื้อตราสาร, พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้เอกราชคงพอเป็นไปได้ แต่จิตวิทยาทีเด็ดที่จะคลายเงื่นให้ตัวเองดูเหมืนจะเป็นการแสดงสปิริตรับเงินเดือนครึ่งเดียวเพื่อแก้ต่างไปในตัวว่าไอ้ที่เลี่ยงภาษีเมื่อสมัยทำงาน IMF น่ะไม่ได้ตั้งใจหากแต่มึนๆ ไปนิดหน่อย ยอมเฉือนเนื้อตัวเองแบบนี้ก็เรียกว่า “เป็นงาน” ว่าแต่ว่าจะได้ผลกับกรณีรีดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีมรดกของรัฐบาลมั้ย นี่สิต้องรอลุ้น
-ทิชา สุทธิธรรม-