วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ชีวิตต้องสู้ถึงจะอยู่รอด

สยามรัฐ 9 กพ. 2552
“ความเปลี่ยนแปลงเป็นนิรันดร์” ความจริงอันสากลที่แฝงอยู่ในทุกอณูของการทำธุรกิจ องค์กรใหญ่ บริษัทย่อยที่มีคนเป็นหัวใจขับเคลื่อนตัวสำคัญย่อมต้องปรับตัว ดิฉันได้ความรู้มาจากบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจแห่งหนึ่งพูดถึง “มิติ” ในการบริหารงาน บริหารคนและมีโอกาสสูงที่จะเป็น “Trend” ใหม่ มนุษย์เงินเดือนที่มีอายุงานยาวนานจะว่าด้วย “ความอาวุโส” (seniority) หรือ อัตตาความมีตัวตนสูง (Econism) ที่ต่างเคยได้ผลตอบแทนตามอายุงานที่แน่นอน “ถึงเวลาได้ ฉันต้องได้” คงต้องยอมรับกับวิธีการ “จ่ายตามผลงาน” (Pay for Performance) ซึ่งหมายถึง ผลลัพธ์ที่ได้ยืนตามเหตุปัจจัย เพราะทุกหน่วยงานต้องจ่ายเงินให้ฉลาดและคุ้มค่าที่สุดกับสิ่งที่จะได้รับ อย่าว่าแต่ประเทศไทยเลย “ญี่ปุ่น” ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีมากและขึ้นชื่อในเรื่องของการดูแลพนักงานแบบ Lifetime Employment ว่าจ้างกันจนวาระสุดท้ายของชีวิต ก็ยังต้องเปิดโอกาสให้พนักงานลาออกแบบสมัครใจและลดพนักงานไปนับหมื่น ส่วนคนที่อยู่ต่อไปก็ต้องแปลงกายให้ทำได้แบบ Half – full ที่พร้อมเรียนรู้อยู่ตลอดน่าจะเป็นทางรอดที่พอเข้าตาสำรับผู้ที่กำลังจะถูกเลิกจ้างและอยู่ระหว่างทำใจ แนะนำให้ลองฟังเพลง Dao Xiang (เต้า – เซียง) ของ Jay Chau (เจย์ โชว) พร้อมมิวสิควีดีโอแล้วจะมีกำลังใจขึ้นอีกเยอะ ท่ามกลางปัญหาที่ถาโถมจะมีที่ๆ หนึ่งกับสังคมๆ หนึ่งเสมอ ใกล้ตัวคุณที่พร้อมจะรองรับและไม่ซ้ำเติมคุณ ถึงจะเป็นแนว Hip Hop folk song ผสม Rap แต่ก็เตือนสติและให้ข้อคิดได้ สู้...สู้ ค่ะ
-ทิชา สุทธิธรรม-
*************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น