วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

อย่าลืมดิน ถิ่นกำเนิด

สยามรัฐ 16 กพ. 2552
“ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราสมัยนี้สุดแสนจะลำบากและฝืดเคือง” ไม่แปลกหรอกค่ะที่ประชาชนคนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ จะรู้สึก เพราะต่างก็โดนมรสุมเศรษฐกิจกันทั้งนั้น บางคนแค่เซ บางคนเสื้อผ้าปลิวกระเซอะกระเซิง บางคนถูกลมพัดจนบ้านพัง ขนาดพวกเรายังรู้สึก “ติดร่างแห” ไปด้วยลองคิดดูกลุ่มคนที่ลำบากกว่าเราสิค่ะ “พี่น้องเกษตรกร” เขาจะอยู่อย่างไร ดิฉันมีโอกาสได้ติดตามทฤษฎี “2 สูง” (สินค้าเกษตรกรราคาสูง – เงินเดือนสูง) ของดร.ธนินท์ เจียรวนนท์ มาตลอดและได้ถือโอกาสนำความรู้ที่ได้จากการบรรยายครั้งล่าสุดของท่านในห้วข้อ “การพัฒนาเกษตรกรไทยให้มีความกินดีอยู่ดี” มาบอกเล่า เกษตรกรไทยกลุ่มที่เป็นรากเหง้าบรรพบุรุษของเราแต่ดั้งเดิมที่กำลังจะถูกลืม เมื่อต้นปี 2551 เป็นช่วงที่สินค้าโภคภัณฑ์มีราคาสูงขึ้นอย่างมากน้ำมันราคาสูง โภคภัณฑ์ก็ราคาสูงตาม เริ่มตั้งแต่ข้าว น้ำมันปาล์ม หมู น้ำตาล ตอนนั้นคนไทยวิตกอย่างมากว่าต้องจ่ายค่าอาหาร ค่ากับข้าวแพงมากขึ้นแล้วพาลคิดไปว่าช่วงนั้นคงเป็นช่วงกอบโกยของเกษตรกร คนไทยที่ใจกว้างหน่อยก็พอคิดในแง่ดีว่า ช่างเถอะ นานๆทีเกษตรกรจะได้ลืมตาอ้าปากได้บ้าง เพราะ 10 ปี 20 ปีมา ราคาพืชผลเกษตรกรก็ไม่ดีขนาดนี้ ลำบากทั้งชีวิตก็ควรจะมีกำลังใจกันบ้าง
รู้สึกดีใจอยู่ได้ไม่นาน “Honeymoon Period” ของเกษตรกรก็ต้องสิ้นสุดลงแค่ไม่ทันข้ามปี จะด้วยการตกลงอย่างแรงของระบบเศรษฐกิจโลกหรือความตื่นกลัว (Panic) ของคนที่เกี่ยวข้องกลัวความนิยมตกลงตามภาวะเศรษฐกิจยิ่งโหมกระพือโครงการกู้ศรัทธาจากประชาชน แต่กลับทำให้ราคาข้าว หมู พืชเกษตรหลายชนิดตกต่ำ เกษตรกรที่เลี้ยงไก่กำไรต่อตัวแค่ 20 บาท ถ้าเลี้ยงสัก 100 ตัว ต่อเดือนกำไรก็แค่ 2,000 บาท แถมที่ดินก็มีจำกัด ไหนจะต้องแบกภาระครอบครัวอีก นอกจากราคาสินค้าเกษตรอย่างเนื้อสัตว์ ข้าว จะร่วงแล้วคนปลูกยางพารา ปลูกมันสำปะหลัง ยิ่งแย่ใหญ่ เพราะปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัวก็ทำให้คนไม่ซื้อรถ บางคนอยากซื้อแต่ไฟแนนซ์ไม่ปล่อย ตลาดรถฟุบ , ลดไลน์การผลิต ปิดโรงงาน ลดคนงาน ซัพพลายเออร์ที่ทำล้อรถยนต์สะเทือนหนักยางพาราก็ราคาตกเอาๆ ปีที่แล้วกิโลกรัมละ 70 บาท ปีนี้เหลือไม่ถึง 30 บาท
เห็นมั้ยค่ะ ชีวิตเกษตรกรไม่ง่าย ยังขาดแคลนหลายสิ่งขาดเทคโนโลยี ขาดตลาด ขาดเงินทุนก็สำคัญ เกษตรกรน่ะ อยากจะขอกู้เงินมาเป็นน้ำเลี้ยงกันใจจะขาดแต่กลับถูกธนาคารมองว่าเป็นกลุ่มที่ถ้าปล่อยกู้มาให้แล้วคงมีความเสี่ยงที่จะเป็น “หนี้เสีย” สูง ก็แล้วเกษตรกรจะมีเครดิตได้อย่างไรในเมื่อพืชผลเกษตรยังราคาตก เปรียบเทียบง่ายๆ กับเกษตรกรญี่ปุ่นล้วนๆ ไม่ใช่แง่ของธุรกิจหรือนายทุน เชื่อมั้ยค่ะชาวนาญี่ปุ่นถูกยกย่องประดุจซามูไร เพราะเป็นกระดูกสันหลัง คนญี่ปุ่นยกย่องส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรกันสุดตัว นอกจากญี่ปุ่นจะไม่สั่งสินค้าเกษตรจากนอกประเทศ เพื่อให้เกษตรกรญี่ปุ่นรับรายได้เต็มๆ แล้วยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตร เช่น ข้าว ในแต่ละตำบลมีสี – กลิ่น แพคสวยงาม ไม่ต้องแปลกใจค่ะถ้าจะเห็นชาวนาญี่ปุ่นท่องเที่ยวรอบโลกได้ก่อนประเทศอื่น นี่ล่ะอานิสงส์ของการรำลึกถึงบุญคุณชาวนา
“พระพุทธองค์ ตรัสสอนว่า บุตรและธิดาทั้งหลาย
ต้องมี กตัญญุตา คือ รู้คุณท่านบำรุงพระคุณของทานให้มีความเจริญ”

**********************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น