วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552

ชะตาชีวิต อีลิท การ์ด


สยามรัฐ 9 มี.ค. 2552
มหากาพย์อันยาวนานของไทยแลนด์ “อีลิท การ์ด” ที่ยังวุ่นวายไม่จบ นอกเหนือจากค่าสมาชิกที่แพงหูฉี่กว่า 1 ล้านบาท ต่อใบ กับเสียงเรียกร้องมากมาย ว่าไม่คุ้มจากบรรดาฝรั่งที่เผลอใจ อีกทั้งตัวบริษัทยังขาดทุนมากมาย จนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการสั่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาตัดสินใจอีกครั้งแต่ทว่า จากการประสบปัญหา ขาดทุนประมาณ 1,142 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มโครงการในปี 2546 จนถึงปี 2549 ขณะที่ในปี 2550 – 2551 ยังไม่มีรายงานผลการดำเนินงาน

จากการศึกษาโครงการวิจัยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จากโครงการบัตรสมาชิกไทยแลนด์ อีลิท พบว่า....นอกจากค่าสมาชิกที่โครงการนี้จะได้รับรายละ 1 ล้านบาทแล้ว ในแง่ของผลประโชยน์ทางตรง ชาวต่างชาติที่เป็นสมาชิกบัตรที่เข้ามาในไทย จะมีวันพักในเมืองไทยเฉลี่ย 14 วัน ต่อครั้ง มีการใช้จ่ายเงินโดยรวมเฉลี่ย 470,112 บาทต่อครั้ง และยังมีผลดีต่อระบบ เศรษฐกิจโดยอ้อม เช่น ก่อให้เกิดการจ้างงาน จากการเข้ามาลงทุนของสมาชิกบัตร ซึ่งขณะนี้มียอดอยู่ที่ประมาณ 40,000 ล้าน

แนวทางจัดการโครงการ “อีลิท การ์ด” 3 มีแนวทางเลือก 1. ดำเนินธุรกิจโดยรัฐต่อไป ภายใต้การปรับแผนบริหารและโครงสร้างองค์กรใหม่ทั้งหมด/ 2. เปิดให้เอกชนเข้าร่วมทุนและร่วมในการบริหาร/ 3. ปิดบริษัท
ประเด็น คือ ถ้าปิดบริษัท ล้ม “อีลิท การ์ด” รัฐต้องจ่ายไม่ต่ำกว่า 2,400 ล้านบาท
· เป็นค่าชดเชยให้กับสมาชิกบัตรประมาณ 2,570 ราย มูลค่าราว 2,270 ล้านบาท
· เป็นหนี้สินที่ต้องชำระให้กับผู้ให้บริการ หรือเวนเดอร์ ที่สัญญาผูกพันอยู่ มูลค่า ราว 168 ล้านบาท
· เป็นค่าชดเชยการเลิกจ้างพนักงานราว 17 ล้านบาท
· อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกหากมีสมาชิกบัตรฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย

ขณะที่ทาง ททท. ก็เคยระบุว่า การล้ม “อีลิท การ์ด” ย่อมจะส่งผลเสียหายต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นประเทศไทย!!
บทเรียนนี้สอนให้รู้ว่า “ความหรูหราของราคาสมาชิกและปัญญาอาจไม่ได้มาด้วยกัน” (คนที่ดูขาดเขลา พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดอกบัวเหล่าที่ 4 ที่ไม่เคยพ้นน้ำ) งานนี้นอกจากเสียเครดิต บวก กับต้องผิดใจกันแล้ว ยังมีแววต้องใช้หนี้หัวโตอีกต่างหาก


-ทิชา สุทธิธรรม-
******************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น