วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

“ใหญ่” ใช่ว่า “ไม่ล้ม”

สยามรัฐ 6 เม.ย. 2552

ไม่ใช่แค่หัวข้อที่คนทั่วโลกจะสนใจเท่านั้นว่าสหรัฐยักษ์ใหญ่จะกำหนดอะไรให้กับ “ชะตาชีวิต” ของ GM General Motor และไครส์เลอร์ แต่คนไทยอย่างพวกเราก็ยังคงเฝ้าตามเหตุการณ์นี้กันอย่างวันต่อวัน เพราะธุรกิจรถยนต์ของบ้านเราก็ถูกผสมผสานกับบริษัทแม่เหล่านี้อยู่มากกว่าครึ่ง (ข้อดีอยู่ที่การยอมรับในความต่างจนกระทั่งได้ส่วนผสมอันลงตัวอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมทั้ง 2 ฝ่าย)

แน่นอนว่าบริษัท อเมริกัน รวมกับวัฒนธรรมเจ้าบ้านอย่างไทย นับว่าเป็นลูกครึ่ง (Mix Blooded) ที่มีคุณภาพมาช้านานหลายทศวรรษ และทำเม็ดเงินเป็นกอบเป็นกรรมให้กับอุตสาหกรรมเหล็ก การประกอบชิ้นส่วน ซัพพลายเออร์ ยางพารา และสร้างงานได้หลายแสนตำแหน่งในบ้านเราและกว่า 1 ล้านตำแหน่งในสหรัฐ

คำถาม คือ รัฐบาลสหรัฐ จะ “ใจแข็ง” พอที่จะนิ่งเฉย (อุเบกขา : การวางเฉย) แล้วปล่อยให้สิ่งที่เรียกว่า “Too big to fail” ล้มละลายตายไปกับตาหรือไม่!! หรือจะเป็นลักษณะประกาศล้มละลาย ยุบบางหน่วยที่มีแต่ขาดทุนและเป็นภาระไปขายทิ้งแล้วปฎิรูปใหม่ให้เล็กลง แต่ทรงคุณภาพกว่าเดิม.....เป็นไปได้ไหม?

นอกเหนือจากการสังเวยด้วยตำแหน่ง CEO ของ “ริกแวกเนอร์” ที่ถูก “บีบ” ให้
ออกจากตำแหน่งอยู่นานสองนานจนทนแรงเสียดทานไม่ไหวต้องออกไปแบบ “อาลัยรัก” หักด้าม
พร้าต้วเองแบบนี้เห็นที่ “ทิม ไกธ์เนอร์” ท่านผู้เป็นรัฐมนตรีคลังต้องตระหนักในใจ “ดังๆ” ว่า ถ้า
“แวกเนอร์” ไม่เป็นฝ่ายไป “ไกธ์เนอร์” อาจเป็นรายต่อไปในฐานะที่ “มวลชน ไม่ปลื้ม”

“มีได้มา ก็ต้องเสียไป สิ่งใดๆ ล้วนต้อง trade of”
มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ต้องมี
เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์”

อยู่ที่ว่า....เวลารุ่งและร่วงจะเป็นของใคร...ต่างกรรม ต่างวาระ โดยแท้!!
-ทิชา สุทธิธรรม-
********************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น